อาหารจังหวัดนครสวรรค์
การกินอยู่
นครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านในจังหวัดได้คิดค้นกรรมวิธีประกอบอาหาร การถนอมอาหารไว้มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดล้วนแต่แสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการทำอาหาร และการถนอมอาหารเพื่อให้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ
อาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนครสวรรค์ อันแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวนครสวรรค์ ทั้งภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่ ได้แก่ ขนมเปี๊ยะโมจิ
ปลาเกลือ(ปลาเค็ม) กระยาสารท ลูกชิ้นปลากราย กุนเชียง เป็นต้น
อาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนครสวรรค์ อันแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวนครสวรรค์ ทั้งภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่ ได้แก่ ขนมเปี๊ยะโมจิ
ปลาเกลือ(ปลาเค็ม) กระยาสารท ลูกชิ้นปลากราย กุนเชียง เป็นต้น
ขนมเปี๊ยะโมจิ
การทำขนมเปี๊ยะโมจิ ของชาวนครสวรรค์เป็นภูมิปัญญาไทยของคนรุ่นใหม่ที่พยายามดัดแปลงขนมของชาวญี่ปุ่นให้มีรสชาติเป็นที่ถูกใจคนไทย ถ้าเิดินทางจากกรุงเทพฯ ขึ้นสู่ภาคเหนือเมื่อมาสี่แยกเชิงสะพานเดชาติวงศ์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเมืองนครสวรรค์ จะเห็นร้านขนมเปี๊ยะโมจิที่มีชื่อเสียงของนครสวรรค์ ตั้งอยู่สองฟากถนนซึ่งมีอยู่หลายร้าน อาทิ ร้านโมจิจันทร์สุวรรณ ร้านโมจิวัฒนพร ร้านโมจิเอ็ม เอ็ม
ปลาเกลือ (ปลาเค็ม) นครสวรรค์ มีแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ บึงบอระเพ็ด ดังนั้น การทำปลาเค็ม
จึงจัดได้ว่าเป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่งของชาวนครสวรรค์
ที่อำเภอชุมแสง หมู่บ้านท่าดินแดง ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมืองนครสวรรค์ ชาวบ้านนอกจากจะมีอาชีพ
เพาะเลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลาบู่ ปลากด ปลาชะโด แล้ว ยังมีอาชีพในการทำปลาเค็มไปพร้อมกันด้วย ชาวนครสวรรค์นิยมเรียกปลาเค็มว่า "ปลาเกลือ"
จึงจัดได้ว่าเป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่งของชาวนครสวรรค์
ที่อำเภอชุมแสง หมู่บ้านท่าดินแดง ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมืองนครสวรรค์ ชาวบ้านนอกจากจะมีอาชีพ
เพาะเลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลาบู่ ปลากด ปลาชะโด แล้ว ยังมีอาชีพในการทำปลาเค็มไปพร้อมกันด้วย ชาวนครสวรรค์นิยมเรียกปลาเค็มว่า "ปลาเกลือ"
ข้าวเม่าทอด การทำข้าวเม่าทอด นิยมทำกันในอำเภอเมืองนครสวรรค์และอำเภอโกรกพระ ในเทศกาลออกพรรษา ในงานปิดทองไหว้พระ และงานแข่งเรือตามวัดต่างๆ เพราะเป็นช่วงที่มีข้าวเม่าออกมาใหม่ๆ ซึ่งมีกลิ่นหอม และเป็นฤดูที่
กล้วยไข่ให้ผลผลิตพอดี
กล้วยไข่ให้ผลผลิตพอดี
ข้าวโปง แต่เดิมเป็นขนมที่ชาวนานิยมทำในประเพณีรับขวัญข้าว ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว เมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก่อนจะนำข้าวขึ้นยุ้งฉาง จะทำพิธีรับขวัญข้าวโดยการโขลกข้าวโปง คือใช้ข้าวเหนียวใหม่ที่เก็บเกี่ยวนำไปนึ่ง แล้วโขลกจนเหนียวนำไปปั้นเป็นรูปอุปกรณ์การทำนา นำใส่กระบุงไปที่ทุ่งนา จุดธูปเทียนบูชา และเชิญแม่โพสพขึ้นยุ้งฉาง เมื่อเสร็จพิธีก็นำกระบุงนั้นกลับไปไว้ที่ยุ้งข้าว เพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนข้าวโปงจะนำมารับประทานในครอบครัว
กระยาสารท กระยาสารทเป็นขนมที่นิยมใช้รับประทานกับกล้วยไข่ ซึ่งช่วงเทศกาลสารทไทยจะเป็นช่วงที่กล้วยไข่ให้
้ผลผลิตมาก แต่เดิมนิยมกวนกระยาสารทเพื่อนำไปทำบุญในเทศกาลสารทไทย และรับประทานกันในครัวเรือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันการทำกระยาสารทสามารถทำจำหน่ายกันได้ทุกฤดูกาล เพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน และนักท่องเที่ยวสามารถซื้อหาเป็นของฝากญาติมิตรได้เป็นอย่างดี
้ผลผลิตมาก แต่เดิมนิยมกวนกระยาสารทเพื่อนำไปทำบุญในเทศกาลสารทไทย และรับประทานกันในครัวเรือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันการทำกระยาสารทสามารถทำจำหน่ายกันได้ทุกฤดูกาล เพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน และนักท่องเที่ยวสามารถซื้อหาเป็นของฝากญาติมิตรได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น